 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
 |
 |
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
3
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
260
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
1,408,295
|
|
|
|
|
16 กุมภาพันธ์ 2562
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ข่าวสาร
|
|
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเข้าสู่ AEC
[9 ธันวาคม 2558 14:41 น.]จำนวนผู้เข้าชม 4397 คน |
|
สรุปสาระสำคัญของความตกลงยอมรับร่วมของอาเซียนสำหรับสาขาบริการบัญชี (ASEAN Mutual Recognition Arrangement - MRA)
วัตถุประสงค์ MRA
เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพบัญชีและยกระดับการให้บริการบัญชีภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อส่งเสริมการยอมรับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในด้านมาตรฐานและคุณสมบัติ
ขอบเขตงานบริการบัญชีภายใต้ความตกลงยอมรับร่วม (MRA)
กิจกรรมที่ิยู่ภายใต้การจำแนกประเภทผลิตภัณฑ์กลางรหัส 862 ขององค์กรสหประชาชาติ ซึ่งครอบคลุมงานบริการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับบัญชี
คุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอาเซียน
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาทางบัญชีหรือผ่านการทดสอบในโปรแกรมทางบัญชีที่ได้รับการยอมรับในองค์กรวิชาชีพบัญชี
2. มีการขึ้นทะเบียนหรือมีใบอนุญาตที่ยังไม่สิ้นผลในปัจจุบันเพื่อประกอบวิชาชีพบัญชีในแหล่งกำเนิด ซึ่งออกให้โดยองค์กรวิชาชีพบัญชี
3. มีประสบการณ์ในด้านที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 3 ปี สะสมได้ภายในระยะเวลา 5 ปี
4. ปฏิบัติสอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (CPD) ของประเทศแหล่งกำเนิด
5. ได้รับใบรับรองจากองค์กรวิชาชีพบัญชีของประเทศแหล่งกำเนิดและไม่มีประวัติการกระทำผิดอย่างร้ายแรง
ขั้นตอนการจดทะเบียนเป็นนักบัญชีอาเซียน
นักบัญชีที่ต้องการจดทะเบียนเป็นนักบัญชีอาเซียน ต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการกำกับดูแลในแต่ละประเทศ
การเข้าไปประกอบวิชาชีพบัญชีในต่างประเทศ
ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอาเซียนสามารถไปขึ้นทะเบียนกับองค์กรวิชาชีพบัญชีในประเทศนั้นๆ และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กฎหมายต่างๆ ภายในประเทศผู้รับ และยังคงต้องรักษากฎระเบียบการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีภายในประเทศไทย
7 อาชีพที่มีข้อตกลงให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรี
1. อาชีพวิศวกร (Engineer Services)
2. อาชีพการสำรวจ (Surveying Qualifications)
3. อาชีพสถาปนิก (Architectural Services)
4. อาชีพนักบัญชี (Accountancy Services)
5. อาชีพแพทย์ (Medical Practitioners)
6. อาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7. อาชีพพยาบาล (Nursing Services)
จุดแข็งของแต่ละประเทศ

BRUNEI CAMBODIA
- การเมืองค่อนข้างมั่นคงในอาเซียน - มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
- รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีมากเป็นอันดับ 2

LAOS INDONESIA
- การเมืองมีเสถียรภาพ - มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียน
- อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะ น้ำ และแร่ธาตุ - มีจำนวนประชากรมากที่สุดในอาเซียน

MALAYSIA MYANMAR
- มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค - มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
- มีปริมาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค - มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

SINGAPORE PHILIPPINE
- รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอับดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก - แรงงานทั่วไป มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้
- แรงงานมีทักษะสูง มีการศึกษาและภาษาดี - สหภาพแรงงานมีบทบาทมาก

THAILAND VIETNAM
- เป็นศุนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน - มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
- มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง - การเมืองที่ค่อนข้างนิ่งและมีเสถียรภาพ
เปิดประตูสู่อาเซียน ด้วยคำทักทายของแต่ละประเทศ
BRUNEI → ซาลามัด ดาตัง
CAMBODIA → อรุณซัวซะเดย (เช้า), ทิวาซัวซะเดย (เย็น)
INDONESIA → เซลามัทปากิ (เช้า), เซลามัทซิแอง (เที่ยง), เซลามัทซอร์ (เย็น), เซลามัทมายัม (ค่ำ)
LAOS → สะบายดี
MALAYSIA → ซาลามัด ดาตัง
MYANMAR → มิงกะลาบา
PHILIPPINE → กูมูสต้า
SINGAPORE → หนี ห่าว (ใช้เหมือนจีน)
THAILAND → สวัสดี
VIETNAM → ซินจ่าว
(ข้อมูลจาก kapook.com)
ที่มา : บริษัท รัชพรการบัญชีภาษีอากรและกฎหมาย จำกัด |
|
|