|
15 เมษายน 2564
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ข่าวสาร
|
|
แจงให้ความคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เจ็บจากงานก็ไม่ต้องกังวล
[29 มิถุนายน 2557 23:28 น.]จำนวนผู้เข้าชม 2290 คน |
|
ประกันสังคม แจงให้ความคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เจ็บจาก งานก็ไม่ต้องกังวล มีกองทุนเงินทดแทนพร้อมให้การคุ้มครองดูแลรักษา
ดร.อำมร เชาวลิต เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าว หากต้องการจะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจะต้องมีใบอนุญาตการทำงาน (Work permit) และมีหนังสือเดินทาง (Passport) ที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากนำส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนไขแล้วจะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน
ในกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จะมีกองทุนเงินทดแทนจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกจ้าง โดยนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที และต้องแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยต่อสำนักงานประกันสังคมภายใน 15 วัน ส่วนลูกจ้างสามารถแจ้งเรื่องขอรับเงินทดแทนเองได้ภายใน 180 วันนับแต่วันที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้วินิจฉัยจ่ายเงินทดแทนให้ลูกจ้างตามสิทธิที่กำหนดในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537
ในกรณีดังกล่าว หากนายจ้างมีแรงงานต่างด้าว เช่น เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งนายจ้างนำส่งเงินสมทบเข้าระบบประกันสังคม เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ลูกจ้างสามารถรับเงินทดแทนได้ ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมจัดแบ่งแรงงานต่างด้าวที่ได้รับความคุ้มครองออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องมีหนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตทำงาน (Work permit) สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้
2. แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองแต่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติเรียบร้อยแล้ว มีหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of identity) และใบอนุญาตทำงาน (Work permit) สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้
3. แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง แต่ได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรีให้รับจ้างทำงานเป็นการชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับ เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงดูตนเอง ซึ่งยังไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ หากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ขอให้ญาติรีบแจ้งการแจ้งการประสบอันตรายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่รับจ้างทำงานโดยตรงเป็นจำนวนเท่ากับที่ลูกจ้างไทยและลูกจ้างต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมาย และมีใบอนุญาตทำงานได้รับ
เลขาธิการฯ กล่าวชี้แจงกรณีแรงงานต่างด้าวไม่ได้ทำงานในประเทศไทยจนสิ้นอายุขัยพอที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องของการเสียชีวิต ส่วนใหญ่ทำงาน 3-4 เดือนก็มีการย้ายงานทำให้นายจ้างส่วนใหญ่รับไม่ไหวที่จะต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคม จึงได้ปรับลดราคาบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอัตราที่เหมาะสมนั้น ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้าง ลูกจ้างร้อยละ 5 และรัฐบาลจ่ายเงินสมทบเพิ่มอีกร้อยละ 2.75 จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ไม่ได้คุ้มครองเพียงแค่กรณีเจ็บป่วยและประสบอันตรายเพียงอย่างเดียว และหากลูกจ้างมีการเคลื่อนย้ายที่ทำงานสิทธิฯ ดังกล่าว ก็ยังคงติดตัวไปด้วย กรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต ทายาทผู้มีสิทธิสามารถยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีเงินบำเหน็จบำนาญคืนได้ถึงแม้ลูกจ้างจะกลับประเทศไปนานแล้วก็ตาม
มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 ( เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง )
---------------------------------------------------
ข้อมูลจาก
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
สอบถามประกันสังคม โทร.1506 ให้บริการ 24 ชั่วโมง |
|
|