หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการยกเว้นภาษีอากร

Last updated: 27 เม.ย 2566  |  873 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการยกเว้นภาษีอากร

ผู้เสียภาษีอากรจะต้องนำรายได้ที่ได้รับ มูลค่าของการซื้อสินค้าหรือรับบริการ หรือมูลค่าของทรัพย์สิน มาคำนวณกับอัตราภาษีอากร และยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อเสียภาษีอากรตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

หากผู้เสียภาษีอากรไม่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ต้องมีความรับผิดทางภาษีอากร

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากฎหมายภาษีอากรกำหนดให้ผู้เสียภาษีอากรมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรชนิดต่าง ๆ แล้ว กฎหมายภาษีอากรอาจกำหนดการยกเว้นภาษีอากรให้กับผู้เสียภาษีอากรได้เช่นเดียวกัน

งนั้นในอีกทางหนึ่งการยกเว้นภาษีอากร จึงทำให้ผู้เสียภาษีอากรได้รับประโยชน์ เนื่องจากการยกเว้นภาษีอากรในกรณีต่าง ๆ ส่งผลทำให้ตนเองต้องเสียภาษีอากรจำนวนน้อยลงหรือไม่มีภาษีอากรที่ต้องชำระ

ทั้งนี้หากพิจารณาการยกเว้นภาษีอากรชนิดต่าง ๆ แล้วจะพบว่า กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีผลเป็นการยกเว้นภาษีอากรไว้หลากหลายลักษณะ
ดังมีข้อพิจารณาและตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. การยกเว้นภาษีอากรให้กับผู้เสียภาษีอากร การยกเว้นภาษีอากรให้กับผู้เสียภาษีอากร หมายถึง การที่กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียภาษีอากรได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องมีหน้าที่เสียภาษีอากร

เมื่อผู้เสียภาษีอากรไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรแล้ว ผู้เสียภาษีอากรก็ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีอากร โดยการยกเว้นภาษีอากรให้กับผู้เสียภาษีมีลักษณะดังนี้

1.1 การยกเว้นบุคคลที่ต้องเสียภาษีอากร เช่น การยกเว้นภาษีอากรซึ่งเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรให้กับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ และเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญขององค์กรดังกล่าว ที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทย สถานทูต สถานกงสุล บุคคลในคณะทูต บุคคลในคณะกงสุล เป็นต้น

1.2 การยกเว้นบุคคลที่ต้องเสียภาษีอากรและกำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่ได้รับการยกเว้นภาษีอากร เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด

กล่าวคือ จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 มีทุนที่ชําระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาท เป็นต้น

2. การยกเว้นฐานภาษีอากร หมายถึง การที่กฎหมายกำหนดให้สิ่งที่เป็นมูลเหตุของการเสียภาษีอากร ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องนำมาเสียภาษีอากรทั้งหมด บางส่วนหรือเสียภาษีอากรโดยมีเงื่อนไข

ซึ่งเมื่อผู้เสียภาษีอากรได้รับการยกเว้นภาษีจากฐานภาษีอากรแล้ว ผู้เสียภาษีอากรอาจยังต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีอากรเช่นเดิม แต่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการยกเว้นภาษีอากร โดยการยกเว้นฐานภาษีอากรมีลักษณะดังนี้

2.1 การยกเว้นรายรับหรือกำไรสุทธิ ทั้งจำนวนของผู้เสียภาษีอากร เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่เกิดจากการขายคาร์บอนเครดิตในประเทศตามโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ

ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2570 เป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด เป็นต้น

หรือการที่ผู้เสียภาษีอากรจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรนั้น ผู้เสียภาษีอากรจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

ดังนั้น ผู้เสียภาษีอากรจึงควรศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ เพิ่มเติมที่ทำให้ตนเองได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรมากที่สุด.

ทีมา : กรุงเทพธุรกิจ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้