Last updated: 21 มี.ค. 2567 | 650 จำนวนผู้เข้าชม |
การจัดเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศ (International Double Taxation)
จากการที่ประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ มักใช้ระบบจัดเก็บภาษีตามหลักแหล่งเงินได้ และหลักถิ่นที่อยู่ประกอบกัน จึงทำให้กรอบอำนาจของรัฐในการการจัดเก็บภาษีเกิด การทับซ้อน (overlapping jurisdiction) และก่อให้เกิดการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนระหว่างประเทศ การเก็บภาษีซ้ำซ้อนดังกล่าว แยกออกได้เป็น 3 กรณี ดังนี้
1.1 การซ้ำซ้อนระหว่างหลักแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ (Souree / Residence Confict)
การซ้ำซ้อนรูปแบบนี้ เป็นการซ้ำซ้อนที่มักจะเกิดขึ้นเป็นปกติในการประกอบการค้าระหว่างประเทศ และเป็นกรณีที่อนุสัญญาภาษีซ้อนมุ่งแก้ไข กล่าวคือ เป็นการซ้ำซ้อนที่ประเทศหนึ่งใช้หลักแหล่งเงินได้ ส่วนอีกประเทศหนึ่งใช้หลักถิ่นที่อยู่ในการเก็บภาษี และเกิดการทับซ้อนของของอำนาจรัฐทั้งสอง
1.2 การซ้ำซ้อนระหว่างหลักถิ่นที่อยู่ด้วยตนเอง (Residence / Residence Confict)
การซ้ำซ้อนลักษณะนี้เกิดจากการที่บุลคลใดตกอยู่ในความหมายของ “ผู้มีถิ่นที่อยู่” ตามกฎหมายของประเทศต่างๆ มากกว่าหนึ่งประเทศ
1.3 การซ้ำซ้อนระหว่างหลักแหล่งเงินได้ด้วยกันเอง (Souree/Source Conflict)
การจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนกรณีนี้ เป็นกรณีที่ประเทศมากกว่าหนึ่งประเทศแย่งกันเก็บภาษีบนเงินได้ก้อนเดียวกันโดยอาศัยหลักแหล่งเงินได้
ที่มา : สารพันปัญหาภาษีระหว่างประเทศ
3 ธ.ค. 2567
19 ธ.ค. 2567
18 ธ.ค. 2567