Last updated: 22 เม.ย 2567 | 1632 จำนวนผู้เข้าชม |
ค่าสิทธิ (Royalties)
ค่าสิทธิ ความสำคัญดังกล่าว เห็นได้จากการที่ประเทศไทยมีการนำเข้าเทคโนโลยีและมีการจ่ายค่าสิทธิเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยในบทนี้ จะอธิบายถึงความหมายและหลักการจัดเก็บภาษีจากค่าสิทธิตามอนุสัญญาภาษีซ้อน (1) เสียก่อนและหลักการนั้น จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาของความบิดเบือนในการเก็บภาษีดังกล่าว (2) ในทางปฎิบัติ
1.ความหมายและหลักการเก็บภาษีจากค่าสิทธิตามอนุสัญญาภาษีซ้อน
ก่อนที่จะอธิบายหลักการจัดเก็บภาษีจากค่าสิทธิตามอนุสัญญาภาษีซ้อน (1.2) มีความจำเป็นต้องเข้าใจความหมายของค่าตอบแทนที่เข้าลักษณะเป็นค่าสิทธิ (1.1) เสียก่อน
1.1 ความหมายของค่าสิทธิ
ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศไทยกับประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่นั้นสรุปว่าค่าตอบแทนที่จะเข้าลักษณะเป็นค่าสิทธิ หมายถึงค่าตอบแทนการใช้หรือสิทธิในการใช้ทรัพย์สินซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่1 ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ รวมทั้งฟิล์มภาพยนตร์ (1.1.1) กลุ่มที่ 2 สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า แบบหรือหุ่นจำลอง แผนผัง สูตร หรือกรรมวิธีลับใดๆ หรือเพื่อข้อสนเทศที่เกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมหรือวิทยาศาสตร์ (1.1.3)
1.1.1 ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์
กรณีตาม 1.1.1 นี้หมายถึง ค่าตอบแทนการใช้หรือสิทธิในการใช้งานวรรณกรรม ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ใดๆซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์(copyright)
1.1.2 สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า แบบหรือหุ่นจำลอง แผนผังสูตร หรือกรรมวิธีลับใดๆ หรือข้อสนเทศที่เกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรมพาณิชยกรรม หรือวิทยาศาสตร์
กรณีตาม 1.1.2 นี้ เป็นค่าตอบแทนการใช้หรือสิทธิในการใช้สิทธิทรัพย์สิน หรือข้อมูลซึ่งผู้เป็นเจ้าของมีสิทธิหวงกัน ที่ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์
1.1.3 อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมหรือวิทยาศาสตร์
กรณีตาม 1.1.3 นี้ หมายถึง ค่าเช่าอุปกรณ์ซึ่งตามประมวลรัษฎากรของไทย ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40
1.2 หลักการเก็บภาษีจากค่าสิทธิ
ตามร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD ค่าตอบแทนที่เข้าลักษณะเป็นค่าสิทธิ ถูกกำหนดให้เก็บภาษีได้เฉพาะในประเทศซึ่งผู้มีเงินได้มีถิ่นที่อยู่ซึ่งมีผลให้ประเทศแหล่งเงินได้ต้องยกเว้นภาษีให้ทั้งหมด
2. ความบิดเบือน (distortion) ในการใช้บังคับ
ความหมายและหลักการจัดเก็บภาษีของค่าสิทธิตามอนุสัญญาภาษีซ้อนดังกล่าวนั้น ในทางปฎิบัติได้มีการบิดเบือนการใช้บังคับในกรณีที่ประเทศไทยเป็นประเทศแหล่งเงินได้ เพื่อขยายขอบเขตการจัดเก็บภาษีจากค่าแหล่งสิทธิออกไปโดยการบิดเบือนดังกล่าว เห็นได้จากการตีความหมายของค่าสิทธิ (2.1) และจากการใช้บังคับข้อบทของอนุสัญญาภาษีซ้อนซึ่งให้สิทธิประเทศแหล่งเงินได้เก็บภาษี (2.2)
2.1 ความบิดเบือนที่เกี่ยวกับความหมายของค่าสิทธิ
ความหมายของค่าสิทธิ ได้ถูกตีความบิดเบือนใน 2 กรณีที่สำคัญ คือ กรณีของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ computer software (2.1.1) และกรณีของค่าวิทยาการ หรือ know-how (2.1.2)
2.1.1 กรณีของ Computer Software
ตามที่ได้อธิบายแล้วใน 1.1.1 ว่า ค่าตอบแทนการใช้หรือสิทธิในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เข้าลักษณะเป็นค่าสิทธินั้น คำว่า “ค่าตอบแทนการใช้หรือสิทธิในการ” ดังกล่าวในหลักการ หมายถึง กรณีที่ผู้จ่ายเงินได้สิทธิในการทำขึ้นใหม่และจำหน่ายแก่สาธารณชน(licenses to reproduce and distribute to the public)
2.1.2 กรณีของค่าวิทยาการ หรือ Technical Know-how
ในส่วนของสัญญา know-how ซึ่งตามที่กล่าวใน 1.1.2 แล้วว่าหมายถึง สัญญาซึ่งผู้ให้ know-how ไม่ต้องทำการใดๆ นอกจากถ่ายทอด know-how ที่มีอยู่แล้วให้แก่ผู้รับ ซึ่งทำให้สัญญาดังกล่าวแตกต่างจากสัญญารับจ้าง
2.2 ความบิดเบือนในการบังคับจัดเก็บ
ความบิดเบือนในการบังคับจัดเก็บนั้น เกิดขึ้นใน 2 กรณี ได้แก่ กรณีของสัญญาที่มีลักษณะผสม (2.2.1) และกรณีของค่าสิทธิที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบการถาวร (2.2.2)
2.2.1 กรณีของสัญญาที่มีลักษณะผสม
กรณีของสัญญาที่ลักษะผสม ได้แก่ สัญญาซึ่งประกอบด้วยบริการหลายประเภท และแต่ละประเภทตกอยู่ภายใต้ของข้อบทตามอนุสัญญาภาษีซ้อนที่แตกต่างกันโดยในส่วนที่เกี่ยวกับค่าสิทธินั้น จะพบความบิดเบือนบ่อยครั้งในส่วนของสัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีบริการอื่นๆ
2.2.2 กรณีของสถานประกอบการถาวรกับค่าสิทธิ
ตามหลักการของอนุสัญญาภาษีซ้อน ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ที่เป็นค่าสิทธินั้น ประกอบธุรกิจในประเทศที่มีค่าสิทธิเกิดขึ้น โดยผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศนั้น และสิทธิหรือทรัพย์สินในส่วนที่เกียวกับค่าสิทธิที่จ่ายนั้น เกี่ยวข้องในประการสำคัญกับสถานประกอบการถาวร การเก็บภาษีในประเทศแหล่งเงินได้ของค่าสิทธิดังกล่าว จะต้องกระทำตามบทบัญญัติในเรื่องของกำไรธุระกิจแทน
10 ม.ค. 2568
26 ธ.ค. 2567
20 ม.ค. 2568
25 ธ.ค. 2567