กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ

Last updated: 27 พ.ค. 2567  |  532 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ

กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีพิเศษ

อาชีพยอดฮิตในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นการขายของออนไลน์ ซึ่งมีพ่อค้าแม่ค้าขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Shopee, Instagram, TikTok, Lazada, Line Man, Grab เป็นต้น ซึ่งรายได้จากการขายของออนไลน์เหล่านี้ ควรมีการยื่นและเสียภาษีให้ถูกต้องด้วย แต่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ จะขายในนามบุคคลธรรมดา จึงไม่เชี่ยวชาญเรื่องภาษี บางรายอาจยื่นผิดพลาด หรือในหลายๆ รายก็ไม่ได้ยื่นภาษีหรือเสียภาษีเลยก็มี และด้วยเหตุนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา กรมสรรพากรจึงได้มีคำสั่งให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่างๆ จัดทำบัญชีพิเศษขึ้น เพื่อนำส่งข้อมูลรายรับของผู้ประกอบการให้กับกรมสรรพากร โดยจะมีผลบังคับใช้กับข้อมูลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป โดยรายละเอียดหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับประกาศฉบับนี้มีอะไรบ้าง และผู้ประกอบการออนไลน์ต้องทราบเกี่ยวกับภาษีอย่างไรบ้าง ลองมาพิจารณาไปพร้อมๆ กันดังนี้

เงื่อนไขและข้อกำหนดเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต้องมีบัญชีพิเศษ

จำนวนเงินฐานในการคำนวณรายรับอื่นๆ (รวมทุกบัญชีของผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการบนอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม)
2.เลขบัตรประจำตัวประชาขน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคลของผู้ประกอบการขายสินค้า หรือให้บริการบนอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม
3.ชื่อกลางของผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการบนอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม
4.ยอดรวมจำนวนเงินที่เป็นฐานในการคำนวณค่าธรรมเนียม (รายรับค่าธรรมเนียม) (รวมทุกบัญชีของผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการบนอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม)
5.ยอดรวมจำนวนเงินที่เป็นฐานในการคำนวณค่านายหน้า (รายรับค่านายหน้า) (รวมทุกบัญชีของผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการบนอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม)
6.ข้อมูลบัญชีธนาคาร (รวมทุกบัญชีของผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการบนอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม)
7.ชื่อผู้ประกอบการ ชื่อนิติบุคคลของผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการบนอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีพิเศษ

ด้วยกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย มีบัญชีพิเศษ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 เป็นต้นไป และมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ผู้มีหน้าที่ทำบัญชีพิเศษ ได้แก่ ผู้มีหน้าที่หักภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) การจ่ายเงินที่มีการตั้งฎีกาเบิกเงินจากคลัง
(2) การจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงินของธนาคาร สหกรณ์ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
(3) กรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน
(4) กรณีอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรจะประกาศกำหนดต่อไป
2.บัญชีพิเศษที่ต้องจัดทำนี้ อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบแนบท้ายประกาศดังกล่าว
3.การกรอกข้อความในบัญชีพิเศษดังกล่าวสำหรับรายการการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แยกเป็น 2 กรณี คือกรณีตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรกรณีหนึ่งและกรณีอื่น ๆอีกกรณีหนึ่ง ส่วนรายการการนำส่งภาษีให้แยกตามใบเสร็จรับชำระภาษีอากรของกรมสรรพากรเป็นรายฉบับ
1. ผู้มีหน้าที่ทำบัญชีพิเศษ ได้แก่ ผู้มีหน้าที่หักภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(1) การจ่ายเงินที่มีการตั้งฎีกาเบิกเงินจากคลัง
(2) การจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงินของธนาคาร สหกรณ์ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
(3) กรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน
(4) กรณีอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรจะประกาศกำหนดต่อไป
2.บัญชีพิเศษที่ต้องจัดทำนี้ อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบแนบท้ายประกาศดังกล่าว
3.การกรอกข้อความในบัญชีพิเศษดังกล่าวสำหรับรายการการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แยกเป็น 2 กรณี คือกรณีตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรกรณีหนึ่งและกรณีอื่น ๆอีกกรณีหนึ่ง ส่วนรายการการนำส่งภาษีให้แยกตามใบเสร็จรับชำระภาษีอากรของกรมสรรพากรเป็นรายฉบับ
4.วิธีกรอกข้อความในบัญชีพิเศษให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1)กรอกรายการการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยรวมจำนวนเงินหักภาษี ณ ที่จ่าย ประจำวันของแต่ละกรณีตามข้อ 2 และให้แยกเป็นรายการหักจากบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ส่วนการกรอกรายการการนำส่งภาษีประจำวันให้แยกตามใบเสร็จรับชำระภาษีอากรของกรมสรรพากรเป็นรายฉบับ เรียงลำดับก่อนหลังตามวันที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือการนำส่งภาษี
(2)เมื่อสิ้นวันสุดท้ายของเดือน ให้รวมยอดจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย และจำนวนภาษีที่นำส่งแล้วทั้งสิ้นในเดือนนั้นของแต่ละรายการด้วย
5. การกรอกข้อความในบัญชีพิเศษให้ทำเป็นภาษาไทย ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษีไทยกำกับส่วนตัวเลขจะใช้เลขไทยหรือเลขอารบิกก็ได้ หรือจะลงเป็นรหัสด้วยเครื่องจักรทำบัญชีก็ได้ แต่ต้องส่งคำแปลรหัสเป็นภาษาไทย ต่อเจ้าพนักงานประเมินสำหรับท้องที่ที่สำนักงานของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นตั้งอยู่ การกรอกข้อความตามวรรคหนึ่งต้องให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันถัดจากวันที่มีรายการดังกล่าวเกิดขึ้น
6.ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย เก็บรักษาบัญชีพิเศษดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าห้าปีที่สำนักงานที่มีการจ่ายเงินได้ และพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ทันที
หากผู้ใดประสงค์จะได้แบบพิมพ์บัญชีพิเศษเป็นตัวอย่างโปรดติดต่อขอรับได้จากงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรอำเภอท้องที่ จึงประกาศมาเพื่อทราบทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2531

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้