เงินปันผล ดอกเบี้ย และผลได้จากทุน

Last updated: 26 เม.ย 2567  |  677 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เงินปันผล ดอกเบี้ย และผลได้จากทุน

เงินปันผล ดอกเบี้ย และผลได้จากทุน

 เงินได้ประเภทเงินปันผล (1)ดอกเบี้ย (2)และผลได้จากทุน (3)ซึ่งในทางทฤษฎีถือเป็นเงินได้จากการลงทุน(income from investment) และบ่อยครั้งมีปัญหาในการแบ่งแยกเงินได้ทั้ง 3 ประเภทในทางปฎิบัติ

1.เงินปันผล

 ทำนองเดียวกันในเรื่องของค่าสิทธิในบทที่ 3 ก่อนที่จะอธิบายหลักการจัดเก็บภาษีของเงินปันผลตามอนุสัญญาภาษีซ้อน (1.2) จะขอกล่าวถึงความหมายของเงินปันผล(1.1)เสียก่อน

1.1 ความหมายของเงินปันผล

 ร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD ได้กำหนดความหมายของ “คำว่า “เงินปันผล” ไว้ในข้อ 10 วรรคสาม ดังนี้”คำว่า “เงินปันผล”ดังที่ใช้ในข้อนี้หมายถึง เงินได้จากหุ้น หุ้น “jouissance”หรือสิทธิ“jouissance” หุ้นเหมืองแร่หุ้นของผู้ก่อตั้ง หรือสิทธิอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ซึ่งมิใช่สิทธิเรียกร้องหนี้ อันมีส่วนในผลกำไร รวมทั้งเงินได้จาก corporate nights อื่นๆ ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับ

 1.2 หลักการจัดเก็บภาษีของเงินปันผลตามอนุสัญญาภาษีซ้อน

 ร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD และของ UN ได้กำหนดหลักการจัดเก็บภาษีจากจัดเก็บภาษีจากเงินปันผลไว้ในลักษณะทำนองเดียวกัน กล่าวคือ กำหนดให้สิทธิประเทศแหล่งเงินได้ของเงินปันผล(ประเทศที่บริษัทผู้จ่ายเงินปันผลมีถิ่นที่อยู่) มีสิทธิเก็บภาษีเงินได้จากเงินปันผล แต่ได้จำกัดเพดานอัตราภาษีไว้ โดยในส่วนของ OECD ได้จำกัดอัตราภาษีสูงสุดที่ประเทศแหล่งเงินได้จะมีสิทธิจัดเก็บไม่เกินร้อยละ 15 ปันผล

2.ดอกเบี้ย

 ร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD และ UN ได้กำหนดความหมายของดอกเบี้ย (2.1) ไว้ในข้อ 11 วรรคสาม และได้กำหนดหลักการจัดเก็บภาษีจากดอกเบี้ย (2.2) ในทำนองเดียวกันในเรื่องของเงินปันผล กล่าวคือ ให้สิทธิประเทศแหล่งเงินได้มีสิทธิจัดเก็บภาษีโดยจำกัด

2.1ความหมายของ “ดอกเบี้ย”

 ข้อ 11 วรรคสาม ของร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD และ UK ได้บัญญัติความหมายของ “ดอกเบี้ย” ไว้ในทำนองเดียวกัน ดังนี้ คำว่า “ดอกเบี้ย” ที่ใช้ในข้อนี้ หมายถึง เงินได้จากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันจำนอง หรือไม่ และไม่ว่าจะมีสิทธิร่วมกันในผลกำไรของลูกหนี้ หรือ ไม่

2.2หลักการจัดเก็บภาษีของดอกเบี้ยตามอนุสัญญาภาษีซ้อน

 หลักการจัดเก็บภาษีของเงินได้ประเภทดอกเบี้ยตามอนุสัญญาภาษีซ้อนถูกกำหนดไว้ในข้อ
11 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ของร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD และของ UN และมีลักษณะทำนองเดียวกับที่กำหนดไว้ในเรื่องของเงินปันผล

3.ผลได้จากทุน

 ร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD และของ UN ได้กำหนดหลักการทั่วไปของการจัดเก็บภาษีผลได้จากทุน (3.1) ไว้ในลักษณะทำนองเดียวกัน กล่าวคือให้ประเทศถิ่นที่อยู่ของผู้มีเงินได้มีสิทธิจัดเก็บได้เท่านั้น อย่างไรก็ดี หลักการดังกล่าวมีข้อยกเว้น(3.2)สำหรับทรัพย์สินบางประเภทที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ

3.1หลักการทั่วไปของการจัดเก็บภาษีผลได้จากทุน

 ข้อ 5 วรรคห้า ของร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD และข้อ 5 วรรคหก ของร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ UN ได้กำหนดให้ผลได้จากทุน (gains) ที่ได้จากการโอนทรัพย์สินซึ่งมิได้ถูกกำหนดไว้ในวรรคอื่นๆ ของข้อ 5 ถูกจัดเก็บภาษีได้เฉพาะในประเทศถิ่นที่อยู่ของผู้โอนเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดสิทธิประเทศแหล่งเงินได้ในการเก็บภาษีจากเงินได้ดังกล่าว

3.2 หลักการเฉพาะของทรัพย์สินบางประเภทที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ

 หลักการทั่วไปซึ่งกำหนดให้สิทธิประเทศถิ่นที่อยู่เก็บภาษีผลได้จากทุนได้เพียงประเทศเดียวนั้น มีข้อยกเว้นสำหรับทรัพย์สินที่กำหนดแยกออกไว้เป็นการเฉพาะ 5 ประเภท โดยในข้อยกเว้นนั้น มักจะให้สิทธิประเทศซึ่งทรัพย์สินตั้งอยู่มีสิทธิจัดเก็บภาษีได้ด้วย


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้