องค์ประกอบของงบการเงิน

Last updated: 19 ก.ย. 2567  |  432 จำนวนผู้เข้าชม  | 

องค์ประกอบของงบการเงิน

องค์ประกอบของงบการเงิน
เกี่ยวข้องโดยตรงกับฐานะการเงิน
สินทรัพย์ (Assets)
หนี้สิน (Liabilities)
ส่วนของเจ้าของ (Equity)
เกี่ยวข้องโดยตรงกับผลการดำเนินงาน
ึค่าใช้จ่าย (Expenses)
ข้อสมมติ PAEs : การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern)
ข้อสมมติ NPAES : เกณฑ์คงค้าง และการดำเนินงานต่อเนื่อง
-การบัญชีตามเกณฑ์คงค้างแสดงผลกระทบของของรายการและ เหตุการณ์และสถานการณ์อื่นต่อทรัพยากยากรเชิงเศรษฐกิจและ สิทธิเรียกร้องของกิจการในงวดที่ผลกระทบเหล่านั้นเกิดขึ้น
- แม้ว่าเงินสดรับและจ่ายที่เป็นผลจากรายการ เหตุการณ์และสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ในรอบระยะเวลาที่ต่างกัน

องค์ประกอบของงบการเงิน
รายการ
สิทธิเรียกร้อง
ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ
องค์ประกอบ
สินทรัพย์
หนี้สิน
ส่วนของเจ้าของ
PAEs
ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ อยู่ในความควบคุมของกิจการอันเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต
ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ คือ สิทธิที่มีศักยภาพในการสร้างผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่จะโอนทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจอันเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต
ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินของกิจการทั้งหมด
NPAEs
ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต
ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ซึ่งเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตโดยการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว

10 สัญญาณ ความเสี่ยงธุรกิจ
สินทรัพย์
ใช้เงินสดเป็นหลัก
สินค้าคงเหลือไม่ถูกต้อง
ไม่มีทรัพย์สิน หรือมีทรัพย์สินมากผิดปกติ
หนี้สิน และทุน
เงินกู้ยืมกรรมการมากไม่สามารถชี้แจงได้
ขาดทุนสะสมเป็นเวลานาน
รายได้
บันทึกรายได้ไม่ถูกต้อง
บันทึกรายได้ไม่ครบถ้วน
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่รายได้ลดลง
ค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบกับรายได้
สร้างค่าใช้จ่ายเท็จ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
1. บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
2. บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
3. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
4. กิจการร่วมค้า
5. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการมีรายได้
6. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
7. กองทุนรวมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายฯ
การคำนวณกำไรสุทธิ CIT

รอบระยะเวลาบัญชี

 

ระยะเวลา 12 เดือน

 

การยื่นแบบภาษีประจำปี

 

ภ.ง.ด. 50/ชำระภาษี 150 วัน

 

การยื่นแบบภาษีครึ่งปี

 

ภ.ง.ด. 51/ชำระภาษี 2 เดือน

 

เกณฑ์สิทธิ

 

ม.65 ว.2 และ ท.ป.1/2528

 

ฐานภาษี

 

กำไรสุทธิ (รายได้ - รายจ่าย)

 

ม.65 ทวิ

 

เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิ

 

ม.65 ตรี

 

รายจ่ายต้องห้าม

รายจ่ายที่หักได้เพิ่มจากปกติ

อัตราภาษี


???


ภ.ง.ด. 50 : ความแตกต่าง/การปรับปรุง
การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 (รายการที่ 3)
กำไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิ ตามบัญชีกำไรขาดทุน

บวก  รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ตามประมวลรัษฎากร
บวก  รายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายได้ตามประมวลรัษฎากร
หัก   ขาดทุนสุทธิที่มีสิทธิหักตามกฎหมาย
หัก   รายได้รับยกเว้นภาษีเงินได้หรือรายจ่ายที่มีสิทธิทักได้เพิ่มขึ้น
บวก  รายจ่ายการบริจาคส่วนที่เกินร้อยละ 2 หรือ 10 ของกำไรสุทธิ

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

(ก) ภาษีจากกำไรสุทธิ

 

ร้อยละ 20

 

(ข) ภาษีตาม ม.70 นอกจาก (ค)

 

ร้อยละ 15

 

(ค) ภาษีตาม ม.70 เฉพาะการจ่ายเงินได้ ม.40 (4) (ข)

 

ร้อยละ 10

 

(ง) ภาษีตาม ม.70 ทวิ

 

ร้อยละ 10

 

 

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของ SMEs

รอบระยะเวลาบัญชี

 

กำไรสุทธิ (บาท)

 

ยกเว้นภาษี/อัตราภาษี

 

1 ม.ค. 2558 - 31 ธ.ค. 2558

 

1-300,000

>300,000

ยกเว้น

10%

1 ม.ค. 2559- 31 ธ.ค. 2559

 

xxx

 

ยกเว้น

 

1 ม.ค. 2560 - 31 ธ.ค. 2560

 

1-300,000

>300,000

ยกเว้น

10%

1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป

 

1-300,000

>300,000-3,000,000

>3,000,000

ยกเว้น

15%

20%

 

TFRS for NPAEs บทที่ 7 ลูกหนี้
คำนิยาม
-ลูกค้าการค้า หมายถึง ลูกหนี้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือการให้บริการที่กิจการ
ได้ส่งใบแจ้งหนี้หรือได้ตกลงอย่างเป็นทางการกับผู้ซื้อ รายการดังกล่าวนี้อาจอยู่
ในรูปของตั๋วเงินรับ

ลูกหนี้อื่น หมายถึง ลูกหนี้ที่ไม่ใช่ลูกหนี้การค้า เช่น ลูกหนี้และเงินให้กู้แก่
กรรมการและลูกจ้าง เงินให้กู้ยืมอื่น เป็นต้น
ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ต้องวัดมูลค่าภายหลัง
ด้วยมูลค่าที่จะได้รับ (ซึ่งหมายถึง มูลค่าหลังจากหักค่าเมื่อหนี้สงสัยจะสูญ)

TFRS for NPAEs บทที่ 7 ลูกหนี้
1. วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ มี 3 วิธี
วิธีอัตราร้อยละของยอดขายเชื่อสุทธิ
วิธีอัตราร้อยละของลูกหนี้ที่ค้างชำระจำแนกตามอายุของลูกหนี้
วิธีพิจารณาลูกหนี้เป็นแต่ละราย(ความสามารถในการชำระหนี้และจำนวนเงินที่คาดว่าจะได้รับชำระชำระจากลูกหนี้)
2.กิจการต้องรับรู้จำนวนหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ควบคู่กับการรับรู้ค่าเมื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งเป็นบัญชีปรับมูลค่าบัญชีลูกหนี้ ในงบฐานะการเงิน
เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ (ค่าใช้จ่าย)
เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (ปรับมูลค่าลูกหนี้)
3. หากลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้เมื่อครบกำหนดแล้ว และกิจการได้มีการดำเนินการทวงถามหนี้จากลูกหนี้จนถึงที่สุดแล้ว และคาดหมายได้ค่อนข้างแน่นอนว่าจะไม่ได้รับชำระหนี้ ให้กิจการจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชี และปรับลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เกี่ยวข้อง
เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
เครดิต ลูกหนี้การค้า

TFRS for NPAEs บทที่ 7 ลูกหนี้
เพิ่มเรื่อง การรับรู้รายการหนี้สูญได้รับคืนเป็นรายได้อื่นๆ ในจบกำไรขาดทุน
4. หนี้สูญได้รับคืน
"7.8 หากลูกหนี้ที่กิจการตัดจำหน่ายไปแล้วกลับมาชำระหนี้ ให้แก่กิจการ ให้กิจการโอนกลับบัญชีลูกหนี้ และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เกี่ยวข้องด้วยจำนวนเงินที่ได้รับกลับคืน พร้อมบันทึกรายการรับชำระหนี้จากลูกหนี้ หรือกิจการสามารถเลือกบันทึกหนี้สูญได้รับคืนเป็นรายได้อื่นๆ ในงบกำไรขาดทุน ทั้งนี้ให้กิจการเปิดเผยในนโยบายการบัญชีสำหรับการบันทึกหนี้สูญได้รับคืน"
วิธีที่ 1
1. กลับรายการ
เดบิต ลูกหนี้การค้า
เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
2. บันทึกรับชำระเงิน
เดบิต ธนาคาร
เครดิตลูกหนี้การค้า
วิธีที่ 2 (ทางเลือก)
บันทึกหนี้สูญได้รับคืน
เดบิต ธนาคาร
เครดิต รายได้จากหนี้สูญรับคืน

หลักการภาษี : หนี้สูญ
ม. 65 ทวิ (9) : การจำหน่ายหนี้สูญ
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่ถ้าได้รับชำระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใด
ให้นำมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

 

หนี้สูญรายใดใด้นำมาคำนาณเป็นรายได้แล้ว หากได้รับชำระในภายหลังก็มิให้นำมา
คำนวณเป็นรายได้อีก

 

ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ. 2564)
ให้ใช้บังคับสำหรับการดำเนินการที่เริ่มในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นตันไป

 

 

 


 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้