Last updated: 10 มิ.ย. 2567 | 978 จำนวนผู้เข้าชม |
มาตรการเที่ยวเมืองรอง 2567 นำไปหักภาษีได้
ตั้งแต่ 1 พ.ค.- 30 พ.ย.2567
บุคคลธรรมดา
เงื่อนไข
นำค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางท่องเที่ยว
ในจังหวัดท่องเที่ยวรองตามจำนวนที่จ่ายจริง
ไม่เกิน 1.5หมื่นบาท หักเป็นค่าใช้จ่าย
ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ค่าใช้จ่ายที่เข้าร่วมมาตรการ
ค่าใช้จ่ายผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ค่าที่พักในโรงแรม
ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
ค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
นิติบุคคล
เงื่อนไข
นำรายจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก
ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ
ที่จัดให้แก่ลูกจ้าง หรือค่าบริการ
ของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
เพื่ออบรมสัมมนาหักเป็นรายจ่ายในการ
คำนวณกาษีเงินได้นิติบุคคล
ค่าใช้จ่ายที่เข้าร่วมมาตรการ
ค่าใช้จ่ายผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ค่าที่พักในโรงแรม
ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
ค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
รายละเอียด
หักรายจ่ายได้ 2 เท่า สำหรับการอบรมสัมมนา
ที่จัดในจังหวัดท่องเที่ยวรอง
หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า สำหรับการอบรม
สัมมนาที่จัดในท้องที่อื่นนอกจากเมืองรอง
หากแยกไม่ได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่
ให้หัก 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง
ข่าวกระทรวงการคลัง
มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ
นายพรชัย ชีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง
เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
ภายในประเทศ ซึ่งเป็นมาตรการที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทยให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง รวมถึงกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยประกอบด้วย 2 มาตรการ ดังนี้
1. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (สำหรับนิติบุคคล)บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำรายจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่งหรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือค่าบริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุ รกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว ที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 หักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 864 แห่งประมวลรัษฎากร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร เว้นแต่ค่าขนส่งจะจ่ายให้แก่ผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ ซึ่งจะต้องได้รับใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร ในรูปแบบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ c-Tax Invoice & c-Receipt ของกรมสรรพากร โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แก่
1.1 สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
1.2 สามารถหักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดใน
ท้องที่อื่นนอกจากท้องที่ตามข้อ 1.1
1.3 ในกรณี ที่การจัดอบรมสัมมนาครั้งหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นในท้องที่ตามข้อ 1.1 และข้อ 1.2 ต่อเนื่องกันให้หักรายจ่ายที่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใดตามข้อ 1.1 หรือข้อ 1.2 แล้วแต่กรณี และให้หักรายจ่ายที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใดได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริงทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
2. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรมดา)
ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือ
คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลสามารถนำค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทยหรือค่าที่พักในสถานที่พักที่ ไม่เป็นโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองได้ตามที่ จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว (Low Season)ทั้งนี้ จะต้องมีใบกำกับกาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 864 แห่งประมวลรัษฎากร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับกาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)ของกรมสรรพากรด้วยทั้งนี้ โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวย้ำว่า มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศดังกล่าว จะช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่อยู่ระหว่างการฟื้นตัวให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วง Low Season มากขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศอีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3529 และ 3536
กรมสรรพากร โทร. 1161
18 มี.ค. 2567
1 มี.ค. 2567
16 ก.พ. 2567
18 มี.ค. 2567