Last updated: 16 พ.ย. 2566 | 952 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาษีการรับมรดก
ผู้ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
การชำระภาษี การรับมรดก
โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ม.60) และชำระภาษีภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับมรดก ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
การขอคืนเงินภาษีการรับมรดก
ในกรณีผู้ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ชำระภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย สามารถยื่นคำร้องขอคืนภาษีการรับมรดกภายใน 5 ปี นับแต่วันชำระภาษีทั้งหมด
อัตราภาษีการรับมรดก
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกที่ได้รับ (ส่วนที่ต้องเสียภาษี) แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน เสียภาษีในอัตราลดลงเหลือร้อยละ 5
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก
1. บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
2. บุคคลธรรมดาผู้มิได้สัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยตามกฏหมายว่าด้วยคนเมือง
3. บุคคลผู้มิได้สัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ขนะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ภาษีมรดกไม่ใช้บังคับ
1. มรดกที่เจ้ามรดกตายก่อนวันที่พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดกใช้บังคับ
2. มรดกที่คู่สมรสของเจ้าของมรดกได้รับจากเจ้ามรดก
3. บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ใช้มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา
บทโทษกรณีเลี่ยงภาษีมรดก
การเลี่ยงภาษีมรดก เป็นความผิดอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฏหมาย สำหรับกรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท
6 มิ.ย. 2567
1 มี.ค. 2567
18 มี.ค. 2567
18 มี.ค. 2567